เมนู

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1429] ป. ไม่พึงกล่าวว่า วิญญัตติเป็นศีล หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. เป็นความทุศีล หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น วิญญัตติก็เป็นศีลน่ะสิ.
วิญญัตติสีลันติกถา จบ

อรรถกถาวิญญัตติ สีลันติกถา



ว่าด้วย วิญญัตติเป็นศีล



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องวิญญัตติเป็นศีล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็น
ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะ และสมิติยะทั้งหลายว่า วิญญัตติ คือการ
เคลื่อนไหวกายและวาจา ว่าเป็นศีล เพราะถือเอาเนื้อความพระสูตรว่า
กายวิญญัตติเป็นกายกรรม วจีวิญญัตติเป็นวจีกรรม ดังนี้ คำถามของสกวาที
ว่า วิญญัตติ เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงปรวาทีนั้นด้วยอรรถว่า เจตนาเป็นเครื่องเว้น
ชื่อว่า ศีล รูปธรรมไม่ใช่ศีล เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวคำว่า ปาณา
ติปาตา เวรมณี
เป็นต้น. คำว่า การกราบไหว้เป็นศีล เป็นต้น ท่านกล่าว
เพื่อจะยกแสดงคำเปรียบเทียบว่า วิญญัติเป็นรูปฉันใด คำว่าศีลเป็นบัญญัติ
ฉันนั้นหามิได้ ก็แลวิญญัตตินั้นมิใช่เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นเหตุใด เพราะ
เหตุนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ปาณาติปาตา เวรมณี ดังนี้ อีก.
ก็ลัทธิของปรวาทีนั้น ชื่อว่าตั้งอยู่มิได้ เพราะตั้งอยู่เฉพาะแล้วด้วยเลศนัย
ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถา วิญญัตติสีลันติกถา จบ

อวิญญัตติ ทุสสีลยันตติกถา



[1430] สกวาที อวิญญัตติเป็นความทุศีล หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นปาณาติบาต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นอทินนาทาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นกาเมสุมิจฉาจาร หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นมุสาวาท หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลสมาทานบาปกรรมแล้วให้ทานอยู่ บุญและบาป
ทั้งสองอย่าง เจริญได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุญและบาปทั้งสองอย่างเจริญได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ แห่งจิต
2 อย่าง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ แห่งจิต